วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"แค่วิธีเลี้ยงปลาจานแดงบอกมุมการตลาดได้"

เมื่อเช้าที่ผ่านมาผมได้ดูรายการ Begin Japanology (ตอนรีรัน) ของทาง Voice TV เกี่ยวกับเรื่องของปลาจานแดง หลายคนคงสงสัยว่าปลาจานแดงเป็นยังไง (ลองดูตามรูปได้เลย) ปลาชนิดนี้เป็นปลาแห่งความโชคดี ที่เป็นมงคลของและมีความสำคัญกับวัฒนธรรมและอาหารญี่ปุ่นมากมายครับ แต่ผมไม่ได้เชิญชวนไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือไปหาปลาจานแดงกินกันยามเช้าวันนี้นะครับ ใจเย็นๆกันก่อนนะคร้าบ

มาลองอ่านบทสัมภาษณ์ของชาวประมงท่านหนึ่งเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาจานแดงกัน "ผมเลี้ยงปลาจานแดงในทะเลโดยแยกเป็นกระชังต่างๆตามขนาด ตัวไหนโตขึ้นก็ย้ายไปกระชังอีกอันหนึ่ง ส่วนอาหารก็แบ่งเป็น 8 แบบ ตามขนาดและปริมาณของอาหารที่เหมาะกับปลานจานแดงตัวนั้นๆ"

การแบ่งอาหารปลาของชาวประมงคนนี้ ถ้าดูผ่านๆก็เป็นแบบเดียวกัน แต่ต่างแค่ขนาด 8 แบบที่เหมาะกับการเลี้ยงดูปลาจานแดงในกระชังนั้นๆ



ให้เปรียบแบบการตลาดก็คือ การดูแลลูกค้า หรือการติดต่อสื่อสารตามกลุ่มลุกค้าตามที่ลูกค้าสนใจ บางทีการดูแลลูกค้าแบบเดียวกันทั้งทุกกลุ่มเลย อาจได้ความมาตราฐานที่คุณควบคุมได้ทั้งหมด ซึ่งสิ่งนี้ดีแล้วครับ แต่ลองหันมามองต่อยอดกัน โดยทำเลือกกับบางกลุ่มที่คุณสนใจเป็นพิเศษก็ได้ครับ เพราะลูกค้าอาจจะได้รับการบริการที่ตรงใจใช่เลยเพิ่มขึ้น หรือเหมาะกับพฤติกรรมกับกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น เสมือนว่าเรารู้ใจกลุ่มเป้าหมาย

ถ้าคุณอยากจะคอนโดสักแห่งกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ พนักงานออฟฟิต กับกลุ่มครอบครัว ข้อความที่อยากจะสื่อสาร หรือรูปภาพต่างๆ คงใช้ข้อความเดียวกันน่าจะตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้ากลับมุมลองแบ่งข้อความที่จะสื่อกับพนักงานออฟฟิต เช่น "คุณเบื่อปัญหารถติดหรือเปล่า?" แต่ถ้าเป็นกลุ่มครอบครัว อาจจะเขียนเป็น "ครอบครัวอยู่กับอย่างมีความสุขกับบ้านแห่งความสุขของทุกคน" อันนี้ผมลองยกเป็นตัวอย่างให้

คราวนี้ถึงหน้าที่คุณๆแล้วครับ ว่าคุณได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายไว้แล้ว ลองแตกแขนงแบ่งออกมาเพิ่ม มาเจาะเกราะติดดูว่ากลุ่มเป้าหมายนี้ชอบอะไร มีงานอดิเรกยังไง หรือเรื่องที่กลุ่มนี้กำลังสนใจอยู่

เล็กๆน้อยๆในมุมที่เปลี่ยนไป อาจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดรอยยิ้ม หรือประทับใจมากขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนเป็นลูกค้าของคุณได้นะครับ

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจากรายการ Begin Japanology ช่อง Voice TV ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น