วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำให้ดี ทำให้ไว ถ้าทำได้ ลูกค้าวางใจ!!!

มาดูกันว่าเราจะดำเนินการให้ลูกค้าไว้วางใจได้อย่างไร ด้วย 5 แนวทางที่ผมลองรวบรวมมาฝากคุณๆกันในค่ำคืนนี้ โดยผมเลือกไอเดียต่างๆมาจากการแตกตัวอักษร จากคำว่า "TRUST" ที่แปลว่าไว้วางใจนั่นเอง

เอาหละครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ได้เวลามาเริ่มดูว่า ต้องทำอะไรกันบ้าง เพื่อทำให้ลูกค้าสนิทใจกับธุรกิจของคุณได้



ตัวอักษรแรก ตัว T หรือคำว่า Time "คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่องสาม" วลีที่เป็นสโลแกนของโทรทัศน์ช่องดัง ทุกวินาที ทุกนาที ทุกชั่วโมง หรือทุกวันของลูกค้ามีความสำคัญเสมอ บางครั้งสัญญาว่าจะจัดการปัญหาให้ลูกค้าเสร็จภายในกี่วัน หรือนานกี่ชั่วโมงจะแก้ไขให้ ก็ต้องทำให้ได้ตามช่วงเวลาที่ได้แจ้งไว้ อย่าลืม!!! ว่าในมุมของลูกค้า ถ้าตัวลูกค้าเดือดเนื้อร้อนใจอยู่ ทุกเวลาที่เดินผ่านไปมีความสำคัญเสมอ ฉะนั้นอย่าไปเวลาลอยนวลนะครับ

ตัวต่อมา คือ R ซึ่งผมคิดว่าเป็นคำว่า Reason เหตุผลเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการตัดสินใจหลายๆอย่าง หรือแม้แต่การดูแลบริการลูกค้า เหตุผลยังคงเป็นหนึ่งในสิ่งที่คุณไม่ควรมองเลยผ่านไป บางครั้งในสถานการณ์จริง อาจจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง บางทีอารมณ์ลูกค้าคุณคงไปจัดการโดยตรงไม่ได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราเอาเหตุผลหรือหลักการตามกติกามารยาท ลองคุยกับลูกค้าดู ผมเชื่อว่าทุกๆอย่างก็น่าจะเบาลง หาทางออกกันได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวังคือ การทำอะไรพิเศษให้ลูกค้าบางคนเป็นกรณีพิเศษไป ที่อยู่นอกเหนือเหตุและผล พอเกิดเรื่องขึ้นแบบนี้ ผมว่าเหตุผลอาจจะเอาไม่อยู่แว้ว ต้องเตือนกันไว้ก่อนนะเด้อ

มาถึงไอเดียที่สาม ครึ่งทางแล้ว คือ U หรือ Understanding ความเข้าใจลูกค้าว่าลูกค้ามีความต้องการอะไรบ้าง นอกจากแค่เข้าใจเรื่องความต้องการแล้ว อาจจะต้องเข้าใจตั้งแต่กระบวนการเข้ามาเจอเรา ว่าลูกค้าเริ่มต้นจากตรงไหน จุดประสงค์คืออะไร อะไรที่เป็นสิ่งที่ลูกค้าตัดสินใจ ในมุมของลูกค้าคงต้องการคนเข้าใจเขา ประมาณเอาใจเขา มาใส่ใจเรา ถ้าเรากระโดดเข้าไปนั่งในใจลูกค้าได้ คุยกันเหมือนเพื่อนด้วยภาษาแนวเดียวกันได้ แบบนี้คุณจะคุยกับลูกค้าได้เป๊ะเว่อร์

อ่านมาถึงตรงนี้มาถึงไอเดียเกือบสุดท้ายแล้ว อย่าเพิ่งเหนื่อยกันไปก่อนนะครับ...

ตัวอักษรที่ 4 คือ S = Stability เมื่อเริ่มทำอะไรแล้ว ทุกอย่างเหมือนเริ่มวิ่ง หลังจากกรรมการปล่อยตัวจากจุด Start แล้ว นั่นคือสิ่งที่ลูกค้าจดจำได้แล้วเช่นกัน ฉะนั้นไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วตีจากหายไป แบบนี้ไม่คงเส้นคงวา ลูกค้างงแล้วอาจไม่ปลื้มตามมาได้ วันนี้มาตราฐานการดูแลต่างไปจากเดิม ถ้าเปลี่ยนแล้วดีขึ้นเรื่อยๆ อันนี้พอไปต่อกันได้ แต่ถ้าตีลังกากลับด้านกัน ยิ่งทำยิ่งดิ่งลงต่อไป งานนี้ลูกค้าอาจเบือนหน้าสะบัดบ็อบจากไปได้นะครับ ดังนั้นวางรูปแบบการจัดการให้เป้นแนวทางมาตราฐานให้ได้มากที่สุดครับ

สุดท้ายท้ายสุด คือ T ที่ย่อมาจาก Take me home ไอเดียสุดท้ายนี้ คหสต. ผมชอบมาก เพราะเราทำให้ลูกค้าไว้ใจได้แล้ว ถ้าลูกค้าเอาความไว้วางใจนี้ติดตัวติดใจกลับบ้านไปด้วย คุณคิดว่าจะดีขนาดไหน ประมาณว่าห่อกลับบ้านแล้วเอาไปกินอิ่มยิ้มปริมต่อได้ ผมว่ามันจะสุดยอดมาก ลองคิดภาพตามนะครับ ลูกค้าวางใจจนพาเรื่องดีดีของเรากลับไปบ้านด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นผมว่าลูกค้าคงไม่เก็บเรื่องดีดีไว้เท่านี้แน่ๆ การบอกต่อเรื่องดีดีของเราถูกส่งต่อได้ โดยไม่ต้องเสียสตางค์สักนิดเลยนะครับ วิธีนี้ดีสุดๆ แต่ในทางกลับกัน ลูกค้าถ้าไม่ปลื้ม แล้วเอาเรื่องไม่ค่อยดีกลับไป ก็ถูกนำไปเป่าประกาศแบบไม่เสียเงินเลยสักหน่อยเช่นเดียวกัน

ผ่านไปแล้วสำหรับ 5 ไอเดียที่ผมนำมาบอกต่อๆกัน อาจจะมีวิธีอื่นๆ เพิ่มเติมที่ทำให้ลูกค้าวางใจได้อีก ชาวเพจการตลาด3ช่ามีอะไรแนะนำ หรือมีประสบการณ์แนวไหนมาแบ่งปันกันได้นะครับ จะได้ให้เพื่อนๆที่กำลังบริหารจัดการเรื่องนี้อยู่ ได้ไอเดียใหม่ไปลองใช้กันดูเช่นกันครับ ^_^

ขอบคุณรูปประกอบจาก Google นะครับ #marketingchachacha #การตลาด3ช่า

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

CONTENT ต้องพอดีคำ เพราะเวลามีจำกัด

โลกโซเชียลทุกวันนี้มีอะไรให้เราเข้าไปดูมากมาย จึงไม่แปลกที่คนเราดูจะจดจ่อ เรื่องหนึ่งๆน้อยลง โดยบทความจาก Marketo วิเคราะห์ว่า ในปี 2015 เวลาในการรับชม Content อะไรก็ตาม อยู่ที่ 8.25 วินาที เท่านั้น !!! ลดลงจากปี 2012 ที่อยู่ที่ 12 วินาที และส่วนใหญ่ก็เล่นโซเชียลผ่านสมาร์ทโฟนด้วย ดังนั้นเลื่อนปรื้ดๆ กันเลยทีเดียว
จากข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุให้คอนเทนท์สมัยใหม่ จำเป็นต้องมีคอนเทนท์ที่กระชับจัดให้ผู้อ่านด้วย เรามาดูกันว่า องค์ประกอบที่จะทำให้ 8.25 วินาทีนี้มีค่า มีอะไรบ้าง
Bite-Size-Content---CONTENT
พาดหัวต้องดึงดูดการพาดหัวนั้นถือเป็นศาสตร์ขนานหนึ่ง เพราะนอกจากจะต้องทำให้ดึงดูดผู้อ่านแล้ว ยังต้องกระชับอีกด้วย เราจึงอาจจะเห็นการพาดหัวทั้งในไทย และต่างประเทศ ใช้วิธีการพาดหัวแบบเรียกลูกค้า ซึ่งถึงแม้จะทำให้คนกดเข้าไปอ่าน แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมักไม่ดีตามมา ดังนั้นพาดหัวที่ดี ต้องสั้น ดึงดูด และครอบคลุมเนื้อข่าว
Text ต้องกระชับที่สุดตัวเนื้อหาข้างในก็ต้องกระชับ และไม่วกไปวนมา ถ้าจำเป็นต้องใส่ข้อความเยอะ ก็ควรมีสรุปเน้นไว้ให้ด้วย ผู้บริโภคที่เร่งรีบ จะได้ Scan และ รับข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
Infographic ช่วยได้ถ้าข้อความจำเป็นต้องเยอะ ก็ต้องหาภาพ และ Infographics เข้ามาช่วย เพราะนอกจากจะอ่านง่ายแล้ว ยังทำให้คอนเทนท์น่าสนใจ ดึงดูดให้คนเข้ามาอ่านได้
คลิปน่าสนใจ ไม่อยากปิดการทำคลิปทำให้คนอยากดู แต่ถ้าเปิดคลิปมาแล้วไม่น่าสนใจ ก็พร้อมปิดได้เหมือนกัน ทุกวันนี้งานโฆษณาจึงต้องผลิต และสรรหาคลิปสนุกๆ ดูแล้วไม่น่าเบื่อมาให้ผู้ชม เพราะปัจจุบันเมื่อผู้ชมรู้ว่าเป็นโฆษณาก็เตรียมกดปิดแล้ว ถ้าเป็นโฆษณาที่ไม่ดีก็ยิ่งเสียเวลาใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจาก Marketeer (http://marketeer.co.th/2015/10/bite-size-conte/)

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำไมลูกค้าถึงซื้อล่ะครับ???

วันนี้เอาข้อมูลดีดีมาฝากเกี่ยวกับ "ทำไมลูกค้าถึงซื้อล่ะครับ" มาดู 8 ประเด็นที่อาจดูสั้นๆ ที่มีความหมายย๊าวยาวกันครับ

1) ปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ คือ "คุณภาพของผลิตภัณฑ์คุณ" คิดเป็น 56% ครับ เรื่องคุณภาพยังมาเป็นที่หนึ่งนะครับ อย่ามองข้ามไปโดยเด็ดขาด
2) การเปรียบเทียบราคาสินค้าของห้างสรรพสินค้าคู่แข่งเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของในห้างของคุณได้ถึง 80%
3) เวลาจะซื้อสินค้าที่มีมูลค่ามากๆ หรือราคาสูงๆ นักช้อปที่แอบเล็งของไว้ในใจ กลุ่มนี้จะแอบไปเช็คราคา หรือดูสินค้าจากห้างสรรพสินค้าก่อน แล้วคดีพลิกหันมาแอบซื้อบนออนไลน์ถึง 62%
4) สินค้าแนวเทคโนโลยี ถ้าอยากให้คนซื้อสินค้า ควรจะทำวิดีโอแนะนำไว้นะครับ เพราะคนดู 9 ใน 10 คน บอกว่าถ้าได้ดูแล้วอาจจะจ่ายเงินให้คุณได้
5) 54% ของเหล่านักช้อปเป็นเจ้าของ smartphone และ 76% ของเจ้าของ smartphone กลุ่มก่อนหน้าเมื่อกี้ก็ใช้มือถือในการช้อปปิ้งครับ
6) รู้หรือเปล่าว่าการโพสข้อความของเพื่อนเรามีผลต่อการซื้อโดยตรงของคุณ 81% นะครับ
7) ต่อจากข้อเมื่อสักครู่นี้ การโพสของเพื่อนคุณเกี่ยวกับเหล่าโปรโมชั่นของยี่ห้อต่างๆ มีผลทำให้คุณตอบสนองถึง 30% เลยทีเดียว
8) การทำเนื้อหาพร้อมรูปภาพ สามารถสร้างความผูกพันธ์กับแบรนด์ของคุณได้ 44% ตามมาด้วยการทำเนื้อหาพร้อมวีดีโอ สร้างได้ 40% ครับ
ขอบคุณที่มาจาก http://blog.hubspot.com/marketing/why-people-buy-factors-influence-purchase-descision และรูปภาพจาก Google 

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"แค่วิธีเลี้ยงปลาจานแดงบอกมุมการตลาดได้"

เมื่อเช้าที่ผ่านมาผมได้ดูรายการ Begin Japanology (ตอนรีรัน) ของทาง Voice TV เกี่ยวกับเรื่องของปลาจานแดง หลายคนคงสงสัยว่าปลาจานแดงเป็นยังไง (ลองดูตามรูปได้เลย) ปลาชนิดนี้เป็นปลาแห่งความโชคดี ที่เป็นมงคลของและมีความสำคัญกับวัฒนธรรมและอาหารญี่ปุ่นมากมายครับ แต่ผมไม่ได้เชิญชวนไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือไปหาปลาจานแดงกินกันยามเช้าวันนี้นะครับ ใจเย็นๆกันก่อนนะคร้าบ

มาลองอ่านบทสัมภาษณ์ของชาวประมงท่านหนึ่งเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาจานแดงกัน "ผมเลี้ยงปลาจานแดงในทะเลโดยแยกเป็นกระชังต่างๆตามขนาด ตัวไหนโตขึ้นก็ย้ายไปกระชังอีกอันหนึ่ง ส่วนอาหารก็แบ่งเป็น 8 แบบ ตามขนาดและปริมาณของอาหารที่เหมาะกับปลานจานแดงตัวนั้นๆ"

การแบ่งอาหารปลาของชาวประมงคนนี้ ถ้าดูผ่านๆก็เป็นแบบเดียวกัน แต่ต่างแค่ขนาด 8 แบบที่เหมาะกับการเลี้ยงดูปลาจานแดงในกระชังนั้นๆ



ให้เปรียบแบบการตลาดก็คือ การดูแลลูกค้า หรือการติดต่อสื่อสารตามกลุ่มลุกค้าตามที่ลูกค้าสนใจ บางทีการดูแลลูกค้าแบบเดียวกันทั้งทุกกลุ่มเลย อาจได้ความมาตราฐานที่คุณควบคุมได้ทั้งหมด ซึ่งสิ่งนี้ดีแล้วครับ แต่ลองหันมามองต่อยอดกัน โดยทำเลือกกับบางกลุ่มที่คุณสนใจเป็นพิเศษก็ได้ครับ เพราะลูกค้าอาจจะได้รับการบริการที่ตรงใจใช่เลยเพิ่มขึ้น หรือเหมาะกับพฤติกรรมกับกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น เสมือนว่าเรารู้ใจกลุ่มเป้าหมาย

ถ้าคุณอยากจะคอนโดสักแห่งกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ พนักงานออฟฟิต กับกลุ่มครอบครัว ข้อความที่อยากจะสื่อสาร หรือรูปภาพต่างๆ คงใช้ข้อความเดียวกันน่าจะตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้ากลับมุมลองแบ่งข้อความที่จะสื่อกับพนักงานออฟฟิต เช่น "คุณเบื่อปัญหารถติดหรือเปล่า?" แต่ถ้าเป็นกลุ่มครอบครัว อาจจะเขียนเป็น "ครอบครัวอยู่กับอย่างมีความสุขกับบ้านแห่งความสุขของทุกคน" อันนี้ผมลองยกเป็นตัวอย่างให้

คราวนี้ถึงหน้าที่คุณๆแล้วครับ ว่าคุณได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายไว้แล้ว ลองแตกแขนงแบ่งออกมาเพิ่ม มาเจาะเกราะติดดูว่ากลุ่มเป้าหมายนี้ชอบอะไร มีงานอดิเรกยังไง หรือเรื่องที่กลุ่มนี้กำลังสนใจอยู่

เล็กๆน้อยๆในมุมที่เปลี่ยนไป อาจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดรอยยิ้ม หรือประทับใจมากขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนเป็นลูกค้าของคุณได้นะครับ

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจากรายการ Begin Japanology ช่อง Voice TV ครับ